13 กลยุทธ์ การทำ E-commerce ในไทย จากที่อ่านและลองทำทุกวันมาหลายตลาดในระยะเวลาที่ผ่านมา
สำหรับบทความนี้ผมได้ไปเจอมาจากเว็บบอร์ด Thaiseoboard ของคุณ DePe ได้สรุปไว้ แล้วดูน่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่กำลังจะทำ E-Commerce ในไทย เลยขอนำมาเรียบเรียงใหม่ ให้เข้าใจตามภาษาของผมบ้างดังนี้นะครับ
ขอข้ามจุดอ่อนขุดแข็งแบบดาดๆ ที่หาอ่านได้ตามบทความนักวิชาการทั่วไปนะครับ
1. วิเคราะห์ ปรับกลยุทธ์ได้เร็ว
Real time เลยทีเดียวสำหรับ Stat ทั้งหลายที่เอาไว้เก็บข้อมูล ลูกค้าเข้ามาจากทางไหน ลูกค้าอยู่นานไหม
อันนี้หัวใจสำคัญเลยที่ผมหลงรัก ทำบริษัทมันวัดผลรายเดือนรายไตรมาสนะครับ กว่าจะปรับตัวได้ คู่แข่งนำไปลิ่วไปไหนต่อไหนไม่รู้แล้ว ยิ่งทำการตลาด E-Commerce ยิ่งสนุก มีการยึดหน้าแรก การสร้างหลายร้านค้าเจ้าของเดียวกัน มันส์ดี
2. ไม่ต้องง้อใครจ่ายเงินให้ (การทำ Affiliate ทั้งหลาย)
ผมก็ทำครับ Amazon adsense พวก t3 ด้วย ได้เงินก็เอามาเป็นค่าเมมเบอร์ อุ๊ยหลุด แต่ E-commerce มันสะใจตรงที่เรา control ทุกอย่างเองได้หมด รวมถึงพร้อมรับความเสี่ยงด้วยนะครับในกรณี stock ของเอง
3. ไม่รู้จะขายอะไร?? ปัญหาโลกแตก
ขอแนะนำว่า หาของขายตาม Keyword ถ้าคิดอะไรไม่ออก ให้หา Keyword ก่อนและหาแหล่งสินค้า หรือเอาสินค้ามาสักตัว แตก keyword แล้วไล่เช็คดู วันเดียวก็ได้แล้วครับ ถ้าคิดจะทำ สำหรับมือใหม่ไปอ่านเรื่อง Keyword จากส่วนของ Amazon ได้ครับ หลักการเดียวกันเป๊ะ
4. ไม่มีเงินลงทุน
แนะนำให้หาเงินลงทุนซะ (แนะนำที่ 5k) พอค่าโดเมน ค่าโฮสติ้ง ค่าดัน SEO สักคีย์หนึ่ง หรือใช้ของฟรีพวก lnwshop แล้วหาแหล่งสินค้าแบบรับส่งแทน (Dropship ที่เขาพูดๆ กัน)ในตลาดมีอยู่พอสมควร ถ้าคิดอะไรไม่ออกเดินไปร้านขายของสักอย่างแถวบ้าน ไปถามเขาเลย ผมหาลูกค้าให้กำไรแบ่งกัน ส่วนใหญ่ ok หมด ฝึกไว้ครับเจรจาต่อรอง ได้ใช้แน่ แม้ทำงานอยู่หน้าคอม
หรือใครอยากหาเพื่อนไปด้วย pm มาได้ครับ ถ้าสินค้าน่าสนใจแล้วดูแนวโน้มตลาดยังไม่มีของผมไปด้วยได้ ไม่แย่งตลาดท่านหรอก ผมชอบคุยกับคน แลกเปลี่ยนไอเดียร์กัน
อ้อ เสริมเรื่องทุนหน่อยครับ พอเราทำโปรไฟล์ของเราให้ดีในระดับหนึ่งแล้ว ต้องเอาโปรไฟล์ไปเสนอไอเดียเพิ่มทุนครับถ้าจะทำ ติดต่อเพื่อน ญาติ หรือนายทุนอื่นๆ ที่รู้จัก ไปเสนอ profile ว่าเราทำการตลาดตรงนี้อยู่ สามารถปั้นร้านสร้างรายได้ให้ได้
โดยแบ่งการลงทุนกันเป็น (นายทุน) เงิน : ความรู้ (เรา) ได้สบายๆ ครับ ทีนี้จะขยับขยายอะไรก็ง่าย แต่ต้องทำโปรไฟล์ให้ดีนะครับ มีหลักฐานและทำสำเร็จจริง สถาบันการเงินก็รับนะครับ ถ้าเดินเสตทเมนท์ จดทะเบียนดีๆ เรื่องทุนไม่ใช่ปัญหาเท่าความสามารถในการทำตลาดครับ มันมาเอง
5. หา Partner ซะ!!
เริ่มต้นผมทำคนเดียว หมกอยู่แต่บ้าน พอเริ่มมีทักษะในการทำก็มาเจอเพื่อนสมัยมหาลัยอีกคนหนึ่ง ที่ยกตัวอย่างเว็บ 1 น่ะแหละครับ ก็ได้ความรู้เรื่องนำเข้าส่งออกและ Shipping รวมไปถึงแลกเปลี่ยนกัน
ค้าขายต้องแลกเปลี่ยนครับ สำคัญจะเพิ่มรอยหยักในสมอง ต้องเป็นแก้วน้ำไม่เต็มจะพัฒนาตัวเองได้เรื่อยๆไม่ตกยุค ตอนนี้ร่วมงานกันแบบแยกส่วน คือ ไม่ร่วมหุ้นแต่ถ้ามีอะไรดีๆ ก็จะแลกกันในเรื่องการทำตลาด … เออมรึงลง Ads Facebook ไปผลเป็นไงบ้าง ประมาณนี้ แต่อนาคตไม่แน่อาจจะร่วมลงทุน
6. อย่าคิดมาก
ค้าขายเริ่มง่ายๆ อย่าคิดมาก ที่สำคัญสำหรับ E-commerce ก็คือ เริ่มเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี และปัญหาที่เห็นในบอร์ดคือ ให้ความสำคัญกับบางส่วนเยอะไป เช่น
- รูปร่างหน้าตาเว็บไซต์ (โดนใจเจ้าของ ไม่โดนใจลูกค้า)
- การโปรโมท (มัวไปหาอยู่นั่น nofollow, dofollow, pr สูง ,ทำไม index ลด , blah blah blah)
- การหาสินค้า (ไม่เชื่อข้อมูล เชื่อความคิดตัวเอง) อันนี้มีข้อยกเว้น บางครั้งสัญชาตญาณของเราจะแม่นกว่าข้อมูล เอ๊ะแล้วจะเขียนมาทำไมเนี่ย
- คิดมากจากคอมเมนท์ลูกค้า : ลูกค้าคือพระเจ้าจริง แต่พระเจ้าบางองค์ก็เหมาะโดนถีบ อย่าซีเรียสมากครับ ถ้าเราวางหลักการ service ลูกค้าไปแล้ว พ่อค้าแม่ค้าบางคนเอาเก็บมาคิดอยู่นั่น โดนลูกค้าต่อว่ามาเสียเซล์ฟไปเป็นอาทิตย์
7. ตลาดนี้ไม่ใช่สำหรับทุกคน อย่าไปกลัว
บางคนทำเว็บได้สวยขั้นเทพ การตลาดห่วยแตก, บางคนค้าขายแค่ในเว็บบอร์ด กำไรมหาศาล บางคนทำ seo ได้ดี แต่ไม่กล้าหาของขาย, บางคนหาของราคาดีได้ แต่ทำเว็บของขายในเน็ทไม่เป็น อีกทั้งยังมีเหตุไม่คาดฝันอะไรอีกหลายๆ อย่าง …. พ่อค้าแม่ค้าบางคนทำเว็บขายของตลาดกำลังดี มีลูกค้าประจำ เกิดวิกฤติในครอบครัวจำเป็นต้องดูแลใกล้ชิด ร้านค้าประจำหายไป โอกาสตกอยู่กับเจ้าที่เหลือในตลาด สารพัดครับ
ช่วงเดือนที่ผ่านมา ผมสอนคนในหมู่บ้านที่รู้จักกันไป 5 คน เพื่อนอีก 2 คน พบว่าโอกาสที่เราเห็นมันอาจไม่ใช่โอกาสของคนอื่นครับ ตอนนี้มี 1 คน ที่คิดจะผลิตของขายเอง ที่เหลือยังชิลๆ กันอยู่ ขนาดเปิดเว็บไซต์ เปิด analytic เปิดยอดออเดอร์ + กำไรให้ดูแล้วนะครับ
8. ระบบต้องดี ถ้าคิดจะหาเงินจาก E-commerce
จาก excel ที่ผมไม่เคยเป็น (บ้านนอกเนาะ) ตอนนี้กลายเป็นโปรแกรมหลัก ถ้าเซ็ทระบบไว้ดีหมดแล้ว จะหาของขายกี่อย่างก็ได้ครับ ตลาดมหาศาลจริงๆ E-commerce ไทย ยิ่งถ้าทำอันแรกเป็นแนวทางไว้แล้วได้นะครับ เว็บที่ 2 – 3 – 4 – 5 – 6 เป็นเรื่องง่ายๆ เลยทีเดียว
ถ้าวางระบบไม่ดี เกิดอุบัติเหตุหายไปสักวันสองวัน จะยุ่งครับ แล้วมันเบียดเบียนเวลาชีวิตที่เราจะไปหา product หรือพัฒนาการเรียนรู้ของตัวเอง
9. ใช้เงินทำงาน
แน่นอน เริ่มแรกต้องทำเองให้พอรู้ทุกอย่างเหมือนกิจการทั่วไป พอถึงจุดหนึ่งแล้ว จ้างได้จ้างครับ พวก post ประกาศ ปรับแต่งเว็บไซต์ การทำ seo การเขียนบทความทั้งหลายเหล่านี้ พยายามใช้บริการไว้และหาเจ้าประจำ ที่คุยกันรู้เรื่องและตรงความต้องการของเรา ผมชอบใช้บริการนักศึกษา (อย่าคิดลึกนะ) พอดีที่บ้านอยู่ใกล้สถาบัน
ก็หาคนทำอะไรหลายๆ อย่างที่ใช้เวลาแต่ไม่เกิดผลมากโยนให้เด็กทำไป โปรแกรมอะไรบางตัวที่ต้องใช้ทุกวันก็หามาใช้ ซื้อของจริงไปเลย
10. มองธุรกิจให้ออก
อันนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความคิดแต่ละคนด้วยครับ บางคนมองสินค้าตลาดนัดแว้บเดียว ตีราคาได้ + ต้นทุนขนส่ง + คิดราคาขายหน้าเว็บ + วิธีโปรโมทเสร็จ บางคนมองแทบตายก็ไม่ออก ไม่ต้องคิดมากเช่นเคยครับ ค่อยๆ ตรองไปว่าทำตลาดยังไงดีเดี๋ยวมันก็ติดนิสัยเอง
งานแฟร์ ตลาดนัด เดินๆ บ้างครับ กระแสอะไรมาจับให้ออก เช่นมะหาดช่วงก่อน มันแรงมาได้ยังไง ลองคิดต่อยอด
รวมไปถึงกลุ่มลูกค้าด้วยครับ ลูกค้าเรากลุ่มไหน พฤติกรรมลูกค้าเราเป็นยังไง ตีให้แตกแล้วเข้าไปนั่งครองใจลูกค้าครับ
11. ไม่มีความรู้ ไม่ได้เรียนมา
ถ้าคิดจะทำจริงๆ อันนี้จะไม่ใช่ข้ออ้าง ในบอร์ดนี้และร้านหนังสือมีทุกอย่างครับ เป็นข้ออ้างสำหรับคนที่ตกหลุม (ที่คิดว่าตัวเอง) สบายไม่อยากทำอะไรเพิ่มต่างหาก
12. สินค้าที่คุณขาย คุณกล้าใช้ไหม??
อันนี้ไม่เขียนมาก กระทบเยอะ แต่บางอย่างเห็นตลาดแล้วไปได้ดี แต่สำหรับผมไม่ขายครับ บาปเข้าตัว
13. แบ่งปัน
แบ่งปัน = ทำบุญ เมื่อเราแผ่ความเอื้อเฟื้อออกไป มันจะกลับเข้ามาไม่ว่าทางใดทางหนึ่งครับ เอาง่ายๆ จดโดเมนสักอัน godaddy เลือกบริจาคให้เต็มเหรียญหน่อยแล้วคิดในใจแบบตั้งใจหน่อย ขอผลบุญนี้อุทิศให้ทุกชีวิตในโลกและเจ้ากรรมนายเวร
เครดิต: คุณ DePe กระทู้จาก Thaiseoboard