รวม Website eCommerce และ Marketplace สำหรับคนที่อยากขายของออนไลน์ แต่ไม่รู้จะเริ่มขายที่ไหนบ้างดี
บทความนี้ ผมอยากมาแบ่งปันและแหล่งสำหรับขายของออนไลน์ ที่ผมใช้งานอยู่ โดยทั้งหมดนี้ถือว่าเป็น Website eCommerce และ Market Place ที่น่าจะทำเงินให้เราได้เรื่อยๆ หากเราสามารถสื่อออกไปได้ซื้อและดี ซึ่งใครอยากเริ่มขายของออนไลน์หรือทำอยู่แล้ว ลองมาดูกันได้ครับ ว่าเว็บไหนที่เรามีแล้วหรือยังไม่มี เพื่อจะช่วยเพิ่มรายได้กันนะครับ
1. lnwshop – เปิดร้านค้าออนไลน์ฟรี
สำหรับเว็บ lnwshop หลายคนก็คงคุ้นกันบ้าง เพราะเป็นเว็บไซต์ eCommerce ที่พ่อค้าแม่ค้านิยมใช้กันมากที่สุด ด้วยการใช้งานที่ง่าย สามารถเพิ่มสินค้าได้ไม่จำกัด ปรับแต่งหน้าเว็บด้วยเครื่องมือสำเร็จรูปที่ทาง lnwshop ทำขึ้นมา support ผู้ใช้งาน ที่ไม่ต้องไปนั่งเขียนโค้ดหรือมีความรู้ก็ยังทำได้ แถมทั้งหมดนี้ยังใช้งานฟรีอีกด้วย
นอกจากคุณสมบัติเบื้องต้นแล้ว หากพ่อค้าแม่ค้าท่านไหน อยากอัพเกรด เช่น จดโดเมน, ทำ SSL, เพิ่มความเร็ว Server และฟรีเจอร์อื่นๆ มากมาย ในราคาสุดพิเศษ ซึ่งจากที่ผมเจอมาหลายเจ้า บอกเลยว่าที่นี่ถูกมากๆ ครับ พร้อมกับการันตีว่า lnwshop ติดอันดับใน Google ได้ดีเลยทีเดียวครับ
ช่องทางการรับชำระเงินของ lnwshop ของลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้า
สำหรับการรับชำระเงิน lnwshop นี้ จะมีการตั้งค่าได้ 2 แบบ คือ ชำระผ่านการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของร้านค้าเองโดยตรง กับการรับชำระผ่าน lnwpay โดยจะมีค่าธรรมเนียมอยู่ประมาณ 3.4% – 5% โดยขอแยกรายละเอียดดังนี้ครับ
- การรับชำระเงินผ่านการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารผู้ขายโดยตรง: สามารถเพิ่มบัญชีของร้านค้าเองได้เลย และร้านค้าสามารถทำการตรวจสอบยอด และยืนยันยอดก่อนจัดส่งได้ผ่านระบบหลังบ้าน สำหรับช่องทางนี้ลูกค้าก็จะมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าการใช้ lnwpay แต่ไม่เสียค่าธรรมเนียม
- การรับชำระเงินผ่าน lnwpay: การรับชำระผ่าน lnwpay ทำให้ผู้ซื้อเกิดความมั่นใจว่า เงินที่ลูกค้าชำระนั้น จะมีคนกลางเข้ามารับไว้ก่อน หากไม่ได้รับสินค้าสามารถทำการขอคืนเงินได้ และมั่นใจว่าทุกออเดอร์ที่สั่งจะได้ของแน่นอน แต่ผู้ขายจะต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับ lnwshop 3.4% – 5% ตามแพคเกจ (และมีค่าธรรมเนียมการถอนเงิน คือ น้อยกว่า 5,000 บาท จะมีค่าธรรมเนียม 20 บาท/รายการ และมากกว่า 5,000 บาท ไม่คิดค่าธรรมเนียม) โดยสามารถรับชำระผ่านช่องทางดังนี้ครับ
- ชำระผ่านบัตรเครดิต / บัตรเดบิต
- อินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง
- ผ่อนชำระผ่านบัตรเครดิต 0.8%
- ชำระเงินสดผ่านเคาน์เตอร์
- ชำระเงินด้วยบัญชีออนไลน์
- โอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร lnwshop
- การรับชำระเงินผ่าน Paypal: การรับชำระเงินผ่านบัญชี Paypal โดยตรง โดยลูกค้าสามารถชำระด้วยบัตรเครดิต หรือเงินใน paypal ได้ โดยร้านค้าจะเสียค่าธรรมเนียมที่ 3.9% + 11 บาท
- การรับชำระเงินผ่าน Paysbuy: การรับชำระเงินผ่านบัญชี Paysbuy โดยตรง โดยร้านค้าจะต้องมี account paysbuy ก่อน และเปิดการรับชำระผ่านช่องทางนี้ ซึ่งลูกค้าสามารถชำระได้หลากหลายช่องทางผ่าน paysbuy ได้เช่นกัน โดยร้านค้าจะเสียค่าธรรมเนียมที่ 3.75%
เปิดร้านค้าฟรีได้ที่นี่ https://www.lnwshop.com/openshop
2. Weloveshopping – ซื้อของออนไลน์ ขายของออนไลน์ สะดวก ปลอดภัย
หากใครเคยขายของมาประมาณยุคแรกๆ ของ eCommerce ในประเทศไทย คงไม่มีใครไม่รู้จัก Weloveshopping เป็นอีกเว็บที่พ่อค้าแม่ค้านิยมใช้กันเป็นอย่างมาก ถึงแม่จะมีค่าบริการในการเพิ่มสินค้า การทำธีมที่สวยกว่าแบบฟรี และอื่นๆ อีกมากมายในยุคนั้น
แต่ปัจจุบัน Weloveshopping ได้ทำการอัพเกรดระบบใหม่ กลายเป็น Marketplace แทน ซึ่งจะมีหน้าร้านที่แสดงสินค้าของเรา และซื้อขายได้ อีกทั้งสินค้าของเราก็จะไปอยู่ใน Shopping Mall อีกด้วย
แต่เมื่อลูกค้าสั่งซื้อ เงินทั้งหมดยังคงจะอยู่ใน Wallet ของ weloveshopping ก่อน จนกว่าพ่อค้าแม่ค้าจะทำการขอถอนเงิน ซึ่งก็ถือเป็นอีกเว็บไซต์ที่ไม่ควรพลาด เพื่อจะช่วยเราเพิ่มยอดขายได้อีกช่องทางนึง
ช่องทางการรับชำระเงินของ Weloveshopping ของลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้า
การรับชำระเงินใน Weloveshopping นี้ จะเป็นการรับชำระเงินแล้วยอดเงินจะอยู่ที่ Weloveshopping ก่อน เพื่อลูกค้าจะได้เกิดความน่าเชื่อถือ และหากลูกค้าไม่ได้รับสินค้า ก็จะสามารถขอคืนเงินกับทาง Weloveshopping ได้
- ชำระผ่าน Wallet by truemoney
- ชำระผ่าน บัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต
- ชำระผ่าน ตู้เอทีเอ็ม
- ชำระผ่าน เคาน์เตอร์ธนาคาร
- ชำระผ่าน อินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง
- ชำระผ่าน เคาน์เตอร์เซอร์วิส
ค่าธรรมเนียม การถอนเงินจาก Wallet เมื่อร้านค้าต้องการถอนเงิน
ค่าธรรมเนียมการทำรายการจะเกิดขึ้น เมื่อรายการสั่งซื้อมีการยืนยันการรับสินค้า และเปลี่ยนสถานะเป็น “ดำเนินการเรียบร้อย” โดยค่าธรรมเนียมการทำรายการจะคิดจากมูลค่าของการขาย
ค่าธรรมเนียมการทำรายการ = (มูลค่าการขาย x อัตราค่าธรรมเนียม 3%) + ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
หมายเหตุ
- มูลค่าการขาย คือ มูลค่าการขายของรายการสั่งซื้อที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งมีการยืนยันการรับสินค้า และเปลี่ยนสถานะเป็น “ดำเนินการเรียบร้อย”
- อัตราค่าธรรมเนียม 2.55 – 3% ขึ้นอยู่กับมูลค่าการขายต่อเดือน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% คำนวณจากค่าธรรมเนียมการทำรายการเท่านั้น
สมัครสมาชิกฟรีได้ที่นี่ https://account.weloveshopping.com
3. Shopee Thailand – ซื้อขายสินค้าผ่านมือถือ หรือออนไลน์
สำหรับ Shopee จะเป็นเว็บไซต์ Marketplace ที่ทุกคนสามารถลงขายสินค้าผ่านระบบหลังบ้านได้ง่ายมากๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และทาง shopee ก็จะมีการจัดแคมเปญ และทำการตลาดให้ร้านค้า หรือร้านค้าสามารถส่งสินค้าเข้าร่วมแคมเปญได้มากมาย โดยสามารถซื้อขายได้ผ่าน Website และ Mobile Application iOS/Android
ช่องทางการรับชำระเงินของ Shopee ของลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้า
การการันตีโดย Shopee จะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการช้อปของลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยทุกยอดการชำระเงินจะเข้ามาอยู่ที่บัญชีของ Shopee และจะโอนไปยังผู้ขาย หลังจากที่ลูกค้ายืนยันว่าได้รับและยอมรับสินค้าแล้วเท่านั้น โดยมีช่องทางการรับชำระเงินดังนี้
- ชำระผ่าน บัตรเครดิต/บัตรเดบิต
- ชำระผ่าน การโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร Shopee
- ชำระผ่าน ตู้เอทีเอ็ม
- ชำระผ่าน เคาน์เตอร์ธนาคาร
- ชำระผ่าน อินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง
- ชำระผ่าน เคาน์เตอร์เซอร์วิส
การรับเงินจากการขายสินค้าจาก Shopee ของร้านค้า
สำหรับ Shopee จะมีข้อดีตรงที่ ร้านค้าไม่ต้องทำการทำรายการขอถอนเงินจาก Wallet เอง เพราะทุกการขายหากลูกค้าทำการกดยืนยัน หรือระบบตรวจสอบว่าลูกค้าได้รับสินค้าแล้ว หลังจากนั้น 1-3 วัน ระบบจะทำการโอนยอดการขายนั้นเข้าบัญชีของร้านค้าเองอัตโนมัติเลยครับ โดยไม่มีค่าธรรมเนียม (สำหรับการเปิดตัวในช่วงแรก แต่อนาคตอาจมีค่าธรรมเนียมนะครับ)
สมัครสมาชิกฟรีได้ที่นี่ https://shopee.co.th
4. Lazada Thailand – ซื้อของออนไลน์ ที่มีสินค้ามากที่สุดในไทย
สำหรับ Lazada คงจะไม่มีใครไม่รู้จักในตอนนี้ เพราะดูแล้วว่าตอนนี้ น่าจะเป็น Marketplace ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้ครับ ด้วยสินค้าที่มากมาย หลากหลายสุด ช็อปได้ผ่าน Website และ Mobile Application iOS/Android ที่ร้านค้าทุกร้าน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ก็สามารถนำสินค้ามาวางขายใน Lazada ได้ง่ายๆ เพียงแค่สมัครเป็นผู้ขาย และเข้าร่วมอบรมวิธีการขายกับ Lazada ก็มี Account ให้เราสามารถเพิ่มสินค้าได้ผ่านระบบหลังบ้านได้ง่ายๆ
สำหรับ Lazada จะมีจุดเด่นตรงที่ เมื่อมีออเดอร์จากลูกค้า ร้านค้าจะทำการแพคของเตรียมไว้ และรอเจ้าหน้าที่จาก Lazada (Kerry Express) มารับที่อยู่ที่ร้านค้าแจ้งไว้ และสินค้าของเราทาง Shipping ของ Lazada จะเป็นผู้นำจัดส่งเองจนถึงมือลูกค้า ซึ่งถือว่าครบวงจรกันเลยทีเดียวครับ
ช่องทางการรับชำระเงินของ Lazada ของลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้า
เพื่อให้ลูกค้าทุกท่านได้รับประสบการณ์สุดพิเศษจากการช็อปปิ้งกับลาซาด้า เรามีวิธีการชำระเงินให้คุณได้เลือกใช้ดังต่อไปนี้
- การเก็บเงินปลายทาง
- บัตรเครดิต/บัตรเดบิต
- Paypal
- ชำระเงินที่เคาน์เตอร์ที่บริการ
- บริการธนาคารออนไลน์
- การผ่อนจ่ายผ่านธนาคาร
การรับเงินจากการขายสินค้าจาก Lazada ของร้านค้า
สำหรับการรับเงินนั่น ทาง Lazada จะมีรอบการชำระอยู่เดือนละ 2 ครั้ง โดยจะทำการโอนเข้าบัญชีธนาคารของร้านค้า ซึ่งสำหรับการขายสินค้ากับ Lazada จะมีค่าคอมมิชชั่นที่ร้านค้าต้องแบ่งให้กับ Lazada ที่แตกต่างกันตามหมวดหมู่สินค้า ตั้งแต่ 1% – 22% ต่อสินค้าชิ้นนั้นๆ เมื่อขายได้ ซึ่งถ้ามองรวมๆ แล้วถือว่าคุ้มค่ามากครับ เพราะว่าเราแทบจะไม่ต้องเสียอะไรเลย จนกว่าจะขายสินค้านั้นได้
สมัครสมาชิกฟรีได้ที่นี่ http://www.lazada.co.th
5. Social Media
สำหรับข้อนี้ ถือว่าเป็นอีกช่องทางที่ทุกร้านควรจะมีเป็นพื้นฐาน ของการขายสินค้าเลยก็ว่าได้นะครับ เพราะจากที่ผมขายสินค้ามา ลูกค้าส่วนใหญ่มักจะชอบทักมาเพื่อสอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติม และเช็คว่าของมีพร้อมส่งหรือไม่ โดยสิ่งที่ร้านค้าควรจะต้องสร้างมีดังนี้ครับ
- Facebook Page: เฟสบุ๊คเพจ หลายคนต้องรู้จัก เพราะหลายร้านก็ขายแต่ในเพจอย่างเดียว แต่สำหรับถือว่าไม่โอเค เพราะเพจเป็นแค่ช่องทางนึงไว้สำหรับโพสเชิญชวน โพสให้ข้อมูล และโต้ตอบเกี่ยวกับสินค้าระหว่างลูกค้ากับร้านค้าเท่านั้น แต่ยังไงก็ต้องมีไว้เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าอีกด้วย
- Instagram: บอกข้อมูลสินค้า ของเราด้วยรูปภาพ ซึ่ง Instagram นี้จะเป็นการทำให้ Follower เห็นการอัพเดท ความเคลื่อนไหวของร้านค้าได้เป็นอย่างดี และหากย้อนไปเมื่อปีก่อนๆ หลายคนคงจะคุ้นกับ #งดฝากร้าน แต่สำหรับร้านค้า พ่อค้าแม่ค้า บอกเลยนะครับว่า การฝากร้านดาราหรือเน็ตไอดอล เป็นอีกช่องทางที่ทำให้ได้ลูกค้าใหม่ๆ เยอะมาก แต่ก็ต้องดูสถานการณ์และความเหมาะสมอีกที
- [email protected]: หลายคนคงเริ่มรู้จักกันบ้างแล้วสำหรับ [email protected] เพราะจะต่างจาก Line Personal ที่สามารถทำการส่ง Boardcast ให้กับลูกค้าที่เคยแอดมาถาม หรือติดตามเราอยู่ได้ พร้อมยังสามารถตั้งค่าหรือมีฟีเจอร์มากมายที่ทาง Line ทำไว้สำหรับธุรกิจหรือร้านค้ามากมาย เช่น Admin ช่วยกันตอบ, Promotion, Coupon และอื่นๆ มากมาย บอกเลยครับว่าตอบโจทย์มากๆ ครับ
สำหรับช่องทางการจำหน่ายหลักๆ ของผมก็มีประมาณนี้นะครับ ซึ่งจริงๆ แล้วจะมีอีกเยอะแยะมากมาย แต่บางเว็บบางระบบ ผมก็ไม่ได้ทำอย่างจริงจัง หรือได้ Feedback มาน้อย ก็เลยตัดออกไปบ้าง ซึ่งจริงๆ แล้วก็อยู่ที่สินค้าอีกทีว่าระบบไหนจะตอบโจทย์ร้านได้นั้นได้บ้าง ก็ลองเลือกใช้กันดูได้นะครับ
สำหรับใครที่มีข้อมูลอยากสอบถาม สามารถสอบถามที่คอมเม้นต์ด้านล่างนี้ได้เลยนะคร้าบบบบบ